
ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมสาธารณสุขที่กำลังเติบโตและกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ ปี 2019 เรามีผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เดินทางมาเพื่อการแพทย์ในประเทศไทยมากกว่า 3.5 ล้านคน มีผู้ป่วยในมากกว่า 2 ล้านคน และผู้ป่วยนอกมากกว่า 50 ล้านคน ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางทางด้านการแพทย์ของโลก
🔥 อุตสหากรรมการแพทย์ในประเทศไทยกำลังเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
ในปี 2020 มีจำนวนโรงพยาบาลทั้งหมด 1,421 แห่งในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนโรงพยาบาลเอกชน 347 แห่งและโรงพยาบาลรัฐ 264 แห่งตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงพยาบาลใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีก 9 โครงการ
หากพูดถึงการใช้จ่ายในตลาดอุตสหากรรมการแพทย์ เราสามารถคาดการณ์ได้ว่ามันจะเติบโตขึ้นสูงถึง 32.2 พันล้านดอลล่าสหรัฐ หรือ 1,027 พันล้านบาทในปี 2020 และในปี 2026 ก็จะเติบโตสูงถึง 47.9 พันล้านดอลล่าสหรัฐ หรือ 1,528 พันล้านบาท ที่อัตราการเติบโตของพอร์ตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น (CAGR: Compound Annual Growth Rate) เท่ากับ 6.6% คุณจะเห็นได้ว่าตลาดนี้ใหญ่มาก ปัยจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องคือ การเพิ่มขึ้นของสังคมสูงอายุ ที่ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ผู้คนยังมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทย แต่รวมถึงประเทศอื่นๆทั่วโลก
เราจะเห็นได้ว่า ผู้คนจำนวนมากเริ่มที่จะให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น นี้จะเป็นการสนับสนุนความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในด้านการให้บริการทางการแพทย์ที่ซึ่งไม่เพียงแค่สร้างผลกำไรให้กับโรงพยาบาลแต่ยังช่วยให้โรงพยาบาลมองหาโซลูชั่นและเทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนากระบวนการทำงานในการให้บริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
เราจะเห็นได้ว่า ผู้คนจำนวนมากเริ่มที่จะให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น นี้จะเป็นการสนับสนุนความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในด้านการให้บริการทางการแพทย์ที่ซึ่งไม่เพียงแค่สร้างผลกำไรให้กับโรงพยาบาลแต่ยังช่วยให้โรงพยาบาลมองหาโซลูชั่นและเทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนากระบวนการทำงานในการให้บริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
💪 ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมทางการแพทย์จะเติบโตขึ้น ความท้าทายก็มีมากเช่นกัน
ลำดับแรกเลยก็คือค่าใช้จ่ายในการให้บริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดการงานหลังบ้านซึ่งรวมไปถึงสินทรัพย์และพนักงาน กระบวนการงานหลังบ้านนั้นถือว่าเป็นกระดูกสันหลังของโรงพยาบาลในฐานะที่มีส่วนสำคัญในการสร้างประสบการณ์ลูกค้าและการมอบการให้บริการ ในการจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายนั้นสำคัญมากเพื่อช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนต่อไปได้
การจัดการสต็อกและกระบวนการทำงานของสินทรัพย์ที่ขาดประสิทธิภาพจะส่งผลให้เกิดการบริการที่ขาดคุณภาพและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากจำนวนสต็อกที่มากเกินความจำเป็นและสินทรัพย์ที่มีอัตราการใช้งานที่ต่ำ นี้เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางการแพทย์เคลื่อนที่ได้ซึ่งมีมูลค่าสูง ลองจินตนาการถึงเครื่องให้น้ำเกลือที่มีมูลค่าสูงถึง 100,000 บาทหรือมีเรทราคาอยู่ที่ 2,184 ถึง 6,865 ดอลล่าสหรัฐ หรือลองจินตานาการถึงที่แม้ว่ามีมูลค่าต่ำ แต่หากมีผ้านับพันผืนรวมกันก็จะเป็นเงินจำนวนมากได้ นอกจากนี้ผ้ายังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แล้วหมดไป นั้นหมายความว่า ในอีกไม่ช้าเราก็จำเป็นต้องมีผ้าผืนใหม่
ในช่วงเวลาแห่งการแข่งขันที่ดุเดือด ยิ่งโรงพยาบาลมอบคุณภาพและคุณค่าให้ผู้ป่วยได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งได้รับโอกาสมากขึ้นเท่านั้น
🧗♀️ อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการโรงพยาบาลก็ยังเป็นความท้าทายที่มากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าคุณทำงานในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ คุณก็จะเห็นความท้าทายทั่วไปที่โรงพยาบาลกำลังเผชิญเช่นเดียวกับโอกาสที่กำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน โรงพยาบาลหลายแห่งในหลากหลายประเทศกำลังพบเจอกับสถานการณ์คล้ายคลึงกัน ต่างกันที่มากน้อยขนาดไหน
ความท้าทายสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ปัยจัยคือ ความท้าทายใหม่ ข้อมูลใหม่ เทคโนโลยีใหม่ และความคาดหวังใหม่
ความท้าทายใหม่
ความท้าทายใหม่สำหรับโรงพยาบาลเช่น ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ความขาดแคลนทรัพยากร อัตราการใช้งานที่ต่ำ
ค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานนั้นเทียบเป็น 60% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในโรงพยาบาล นี่ทำให้หลายๆโรงพยาบาลอยู่ภายใต้แรงกดดันที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ และในขณะเดียวกันก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร เพราะความต้องการทางการแพทย์มีมากขึ้นทุกปีอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุและช่วงอายุที่ยาวขึ้นของผู้คน ค่าใช้จ่ายก็อาจจะสูงขึ้นตามไปด้วย โรงพยาบาลที่ไม่สามารถจัดการการใช้จ่ายได้ดีก็จะอยู่ในตำแหน่งที่เสี่ยง การบริหารพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดอัตราการลาออกของพนักงานสามารถเป็นหนึ่งในโซลูชั่นของเรา
อีกความท้าทายหนึ่งที่เกิดขึ้นในหลายๆโรงพยาบาลคือการขาดแคลนทรัพยากรเช่น พนักงาน นี้คาดการณ์ได้ว่าจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในอนาคต หลายๆประเทศทางตะวันตกเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่าพวกเขาจะขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์สูงถึงเกือบ 2 ล้านคนในปี 2020 ในขณะเดียวกันการขาดแคลนพยาบาลและแพทย์ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 600,000 ถึง 230,000 คนเช่นกัน นี้จะทำให้โรงพยาบาลต้องมองหาโซลูชั่นใหม่ๆเพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงที่สุด
สินทรัพย์ที่มีอัตราการใช้งานที่ต่ำเป็นหน่งในปัญหาหลักๆของโรงพยาบาล โดยปกติแล้วเตียงโรงพยาบาลหนึ่งเตียงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์เคลื่อนที่ถึง 8 อย่างเช่น เครื่องให้น้ำเกลือและถังออกซิเจน และจำนวนของอุปกรณ์เหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ยังพบว่ามูลค่าเฉลี่ยทั้งหมดของอุปกรณ์ที่ใช้กับเตียงหนึ่งเตียงอยู่ที่ประมาณ 62,700 บาท ดังนั้น ถ้าโรงพยาบาลหนึ่งมี 300 เตียง ก็จะมีอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีมูลค่าอย่างน้อย 18,800,000 บาท ตอนนี้คุณสามารถจินตนาการได้แล้วว่าโรงพยาบาลจะต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร อุปกรณ์ที่มีอัตราการใช้งานที่ต่ำเกิดจากการบริหารจัดการที่ไม่ดีไม่ว่าจะมาจากการทำงานแบบแมนนวลหรือการขาดข้อมูลที่จำเป็น เช่นนั้นแล้ว โรงพยาบาลจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้งานอุปกรณ์ที่มีอัตราการใช้งานที่ต่ำให้ดีกว่าเดิม
ข้อมูลใหม่
ข้อมูลใหม่สามารถสร้างปัญหาให้โรงพยาบาลได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การขาดข้อมูลที่เรียลไทม์ การขาดการแบ่งปันข้อมูล และการกระจายของโซลูชั่น
การขาดข้อมูลที่เรียลไทม์จะทำให้งานของบุคลากรทางการแพทย์นั้นยากขึ้นเกินความจำเป็น การไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เรียลไทม์จะส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ไม่แค่เพียงในพนักงานแต่ยังรวมไปถึงหัวหน้างานที่จะเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยให้ใช้และบริหารจัดการทรัพยากรให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ด้วยข้อมูลที่เรียลไทม์ในที่เดียว พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การแบ่งปันข้อมูลนับว่าเป็นเรื่องสำคัญในสถานที่ทำงาน เมื่อตอนที่ข้อมูลได้รับการอัปเดตและแบ่งปันระหว่างพนักงาน พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การขาดแคลนการแบ่งปันข้อมูลจะลดความสามารถในการปฏิบัติงานที่ทำเป็นประจำและจะนำไปสู่การล่าช้าและความผิดพลาดในการให้บริการ
การกระจายโซลูชั่นสามารถเป็นปัญหาสำหรับโรงพยาบาลได้เช่นกัน ลองจินตนาการถึงสถานที่ทำงานแห่งหนึ่ง แต่ละแผนกต่างมีระบบเป็นของตัวเองที่ไม่เชื่อมต่อกันกับแผนกอื่นๆ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูลระหว่างแผนกนั้นเป็นเรื่องยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วนี้จะทำให้กระบวนการทำงานช้าลงและขาดประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีใหม่
เทคโนโลยีใหม่สำหรับโรงพยาบาลเช่นอุปกรณ์เคลื่อนที่ อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไอโอที (IoT) แมชชีนเลิร์นนิ่ง (machinr learning) การวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) และโทรเวชกรรม (Telemedecine) เทรนด์ของการลงทุนในเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการแพทย์นั้นก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหมดนี้เกิดจากวัตถุประสงค์บางประการ ดังนั้นการเลือกโซลูชั่นที่เหมาะสมนั้นสำคัญมากๆเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิผลที่สูงที่สุดกับโรงพยาบาล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจึงจำเป็นอย่างมากไม่ได้เป็นเพียงแค่การครอบครองไว้เฉยๆ
ความคาดหวังใหม่
ความคาดหวังใหม่ในโรงพยาบาลเช่น ความต่อเนื่องของกระบวนการทำงาน การเข้าถึงข้อมูลอย่างทันท่วงที และประสบการณ์ทำงานแบบดิจิตัลด้วยตนเอง
กระบวนการทำงานในโรงพยาบาลนั้นยังคงต้องได้รับการพัฒนา คุณภาพของการให้บริการนั้นจำเป็นต้องอยู่ในมาตรฐานหรือดีกว่าเดิมเพื่ออยู่เหนือคู่แข่งคนอื่นๆ หลายกระบวนการที่จัดการแบบแมนนวลต้องเปลี่ยนและพัฒนาให้มีความลื่นไหล อัตโนมัติ และชาญฉลาดมากขึ้น
ข้อมูลนั้นอยู่ทุกที่ ปัญหาคือเราจะเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและมีประโยชน์เหล่านั้นอย่างไรและเราเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้รวดเร็วแค่ไหนเพื่อช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้น ด้วยเทคโนโลยี ไอโอที (IoT) อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (connected devices) และการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) ที่ทันสมัย การเข้าถึงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้จะช่วยให้พนักงานปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น โซลูชั่นเทคโนโลยีอาร์ทีแอลเอสและอุปกรณ์สั่งการด้วยเสียง
ในอดีต ประสบการณ์ดิจิตัลนั้นสามารถเข้าถึงได้ในคนบางกลุ่ม แต่ทุกวันนี้ทุกคนๆสามารถใช้ได้ นี้จะค่อยๆเปลี่ยนวิถีชีวิตการทำงานของเราในหลายๆด้าน นี้ยังส่งผลกับโรงพยาบาลอีกด้วย ผู้ป่วยและลูกค้าคาดหวังประสบการณ์ดิจิตัลมากขึ้น คุณสามารถเห็นได้ว่าประสบการณ์ของผู้ป่วยเริ่มที่จะเป็นดิจิตัลมากขึ้นหากเปรียบเทียบกับอดีตไม่ว่าจะเป็นการเช็คอินแบบดิจิตัลหรืออุปกรณ์ไฮเทคต่างๆที่มีมาเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วย นี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกันในสถานที่ทำงาน พนักงานโรงพยาบาลจำนวนมากยังคงคาดหวังที่จะทำงานแบบดิจิตัลมากขึ้นเช่นกัน
✌ โอกาสใหม่ๆสำหรับนักคิดการณ์ไกล
คุณอาจจะเริ่มเห็นถึงเทรนด์ในโรงพยาบาลที่กำลังเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเหล่านี้สามารถมอบโอกาสใหม่ๆให้กับธุรกิจและพื้นที่ในการแข่งขันมากขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณจะเห็นโอกาสที่แอบซ่อนอยู่เหล่านี้และสามารถเต็มเติมส่วนที่ขาดได้เร็วแค่ไหน
หากท่านชื่นชอบในบทความแบบนี้ อย่าลืมกลับมาติดตามสำหรับบทความในอนาคตด้วยนะครับ 😁 Let’s bring digital transformation to your hospital! 😎