
อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งหรือ Internet of Things (IoT) คือกุญแจสู่ทุกอย่าง ความน่าตื่นเต้นที่เจ้าไอโอทีนี้นำมาให้พวกเราคือการเปลี่ยนแปลง ลำดับแรกเลยคือด้วยความก้าวหน้าและการทำงานร่วมกันของเทคโนโลยีเช่น เซนเซอร์ เอไอ(AI) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง(Cloud computing) เราสามารถเข้าใกล้สังคมแห่งความแม่นยำได้มากขึ้น
📌 อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (ไอโอที) กับสังคมแห่งความแม่นยำ
จินตนาการถึงสังคมที่ซึ่งเราสามารถลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรให้น้อยลงได้ จินตนาการถึงโลกที่ทุกสิ่งทุกอย่างทำงานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เราสามารถรู้ได้ทันทีว่าใครควรทำงานใด เห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องจักรนี้ทำงานมาแล้วกี่ชั่วโมงและต้องได้รับการซ่อมบำรุงเมื่อไร และเราสามารถแน่ใจได้ว่าจะมีพนักงานกี่คนที่จำเป็นในจุดนี้เพื่อให้บริการกับจำนวนลูกค้าเท่า
โรงพยาบาลจะเป็นหนึ่งในสถานที่ที่สามารถได้รับประโยชน์ที่ดีที่สุดจากไอโอที ทำไมล่ะ? เพราะการให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานระดับสูงคือและจะยังคงเป็นภารกิจที่ซับซ้อนและสำคัญที่สุด ระดับความซับซ้อนนี้เป็นระดับที่สมองของมนุษย์เราไม่สามารถรับมือได้
✌ นี้คือสิ่งที่สำคัญสำหรับโรงพยาบาลใดก็ตามที่จะรับมือกับสิ่งต่อไปนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเรียลไทม์:
- วิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ส่งมาจากเซนเซอร์และเกตเวย์เพื่อสร้างระบบแจ้งเตือนด้วยเสียงและตรวจจับการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์การแพทย์ในโรงพยาบาล
- ตรวจจับความผิดปกติในการใช้งานของอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยดูจากสถานที่ที่ใช้งาน เวลาที่ใช้งาน ระยะเวลาที่ใช้งาน และการขนส่งอุปกรณ์เพื่อป้องกันการขโมย
- คาดคะเนความต้องการในการใช้อุปกรณ์ในแต่ละวันจากหลายสถานที่ภายในโรงพยาบาลโดยอิงจากประวัติข้อมูลการใช้งาน จำนวนของผู้ป่วย วันที่ ฤดูกาล สถานการณ์การระบาด และระดับคลังอุปกรณ์
- กระจายงานไปสู่พนักงานที่เหมาะสมที่สุดเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพและความตรงเวลาของการให้บริการ และในขณะเดียวกันก็จะลดการใช้แรงและรักษาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน
- นำทางผู้ป่วยไปสู่เส้นทางที่ถูกต้องเพื่อลดเวลาในการรอให้ได้มากที่สุดและลดระยะเวลาการอยู่ที่โรงพยาบาล
- บันทึกการเดินทางภายในโรงพยาบาลของผู้ป่วยตั้งแต่ที่ผู้ป่วยเข้ามายังโรงพยาบาลจนกระทั่งกลับบ้าน สถาานที่ที่ไป ระยะเวลาที่รอ บุคลากรที่พบปะ อุปกรณ์การแพทย์และระยะเวลาที่ใช้ และจำนวนเงินเท่าไรที่โรงพยาบาลจะเรียกชำระเงินกับผู้ป่วย
- แนะนำทางเลือกที่เป็นไปได้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการของโรงพยาบาลเช่น จะลดเวลาในการรอของผู้ป่วยที่แผนกตรวจสุขภาพอย่างไร และเราจำเป็นต้องใช้เครื่องให้น้ำเกลืออย่างน้อยที่สุดกี่เครื่องที่แผนกไอซียูในวันพรุ่งนี้
- ประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์จากอุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ (Wearable device) เพื่อตรวจจับและคาดคะเนสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเช่น เมื่อตอนที่อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ลักษณะท่าทางของผู้ป่วยขณะที่นอนอยู่ และถ้าลักษณะการเดินของผู้ป่วยผิดปกติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย
นี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างของการที่เรา “สร้างประโยชน์ให้สูงที่สุด” ในโรงพยาบาลจากกระบวนการทำงานหลังบ้าน สำหรับเราแล้วการสร้างประโยชน์ให้สูงที่สุดก่อให้เกิดควาแม่นยำที่สมบูรณ์ และความแม่นยำนี้คือแนวคิดที่ทรงพลังที่จะใช้แหล่งทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดเพื่อสร้างประโยชน์และลดความสิ้นเปลือง นี้คือตลาดที่ยิ่งใหญ่ที่โรงพยาบาลไม่ควรมองข้าม
อย่างไรก็ตาม นี้ก็ยังไม่เทียบเท่ากับสิ่งที่เราจะกล่าวต่อไป
💵 อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (ไอโอที) กับธุรกิจที่เน้นผลลัพธ์ (Outcome economy)
เราอยู่ในสังคมเศรษฐกิจแบบที่ต้องเป็นเจ้าของ (Ownership economy) มาเป็นเวลานาน ถ้าเราต้องการบางสิ่งบางอย่าง เราจำเป็นต้องซื้อสิ่งนั้น ถึงแม้ว่าเราจะใช้สิ่งนั้นแค่หนึ่งครั้งต่อปีเราก็ต้องซื้อสิ่งนั้น รถเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน จากงานวิจัยพบว่า เราใช้รถเพียงแค่5%ของเวลาทั้งหมด 95%ที่เหลือคือความสูญเปล่า และราคาที่เจ้าของรถต้องจ่ายนั้นก็สูงมากเพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของน้ำมันรถ ค่าจอดรถ การซ่อมบำรุง ประกัน และอื่นๆอีกมากมาย ธุรกิจต้องการขายผลิตภัณฑ์ในปริมาณมากจนผลักดันลูกค้าไปลงทุนในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ต้องการจริงๆ
บางทีก็เหมือนกับการที่เราไม่ได้ต้องการซื้อรถ แต่เราต้องการการคมนาคมที่พร้อมใช้งาน ลูกค้าไม่ได้ต้องการซอฟแวร์ของเรา หากแต่ต้องการให้ปัญหาของพวกเขาได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ตาม พวกเราโน้มน้าว หลอกล่อให้พวกเขา “ซื้อ” ในสิ่งที่เราต้องการจะขายโดยไม่รับประกันว่าสินค้าของเราจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้น ลูกค้าต้องจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้เอง คุณเคยได้ยินระบบไอทีที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ ใช้งานไม่ได้ และราคาแพง แถมยังไม่สามารถทำงานได้ตามที่ระบุไว้ไหม? เราคิดว่าคุณคงเคยได้ยิน นี้คือหลักฐานความโหดร้ายของเศรษฐกิจแบบที่ต้องเป็นเจ้าของ
แต่ว่าเราเป็นมนุษย์ และมนุษปรับตัวเสมอ เราเรียนรู้จากเมื่อหลายศตวรรษที่ผ่านมาว่าเศรษฐกิจแบบที่ต้องเป็นเจ้าของนั้นไม่ได้สวยงาม เราจึงรังสรรแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า ธุรกิจแบบให้บริการ (Service economy) ที่ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องขายผลิตภัณฑ์ของเราแต่ว่าเรามอบให้ใช้แทน จากการเป็นผู้ขายเรากลายมาเป็นผู้จัดหา ฟังดูดีกว่าเดิมไหม? จากกคำกล่าวที่มีชื่อเสียงที่ว่า “คุณไม่จำเป็นต้องซื้อ คุณสามารถเช่าหรือจ่ายรายเดือนเพื่อรับการบริการได้” นั้นช่างน่าสนใจจริงๆ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องซื้อแต่ว่าสามารถเช่าหรือจ่ายรายเดือนหรือรายปีได้ ความเป็นเจ้าของ (Ownership) ก็จะหายไป ลูกค้าจะจ่ายน้อยลงในตอนแรกแต่จะจ่ายเรื่อยๆในส่วนของอุปกรณ์ ซอฟแวร์ และการให้บริการหลังการขาย แต่ธุรกิจแบบให้บริการนั้นดีที่สุดหรือเปล่า? น่าเสียดายที่คำตอบนั้นคือไม่ ด้วยเหตุผลที่ชัดเจนหลายประการ
🤜🏼 ความขัดแย้งของโมเดลธุรกิจสองแบบ
ลำดับแรก โดยปกติแล้วลูกค้าจะจ่ายเงินโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจำนวนของสิ่งที่พวกเขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของอุปกรณ์ จำนวนของซอฟแวร์ไลเซนส์ จำนวนของการให้บริการต่อปี สิ่งทั้งหมดเหล่านี้ มีอะไรที่จะสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าได้บ้างว่าปัญหาของพวกเขาจะได้รับการแก้ไข? เราเองก็ไม่อาจทราบได้และนี้คือเหตุผลว่าทำไม
เนื่องมาจากโมเดลธุรกิจของลูกค้าและโมเดลธุรกิจของผู้ขายหรือผู้ให้บริการขัดแย้งกัน ในขณะที่ลูกค้านั้นต้องการลดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกระบวนการทำงานและเพิ่มรายรับ ผู้ขายหรือผู้ให้บริการต้องการให้ลูกค้าเช่าบริการใช้ผลิตภัณฑ์และค่อยๆจ่ายค่าบริการโดยสิ่งเหล่านี้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้าในการทำให้เป้าหมายสำเร็จ
ลองคิดดูว่า ผู้ขายหรือผู้ให้บริการเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ผู้ซึ่งให้เช่ายืมเครื่องให้น้ำเกลือกับโรงพยาบาล ในขณะที่ลูกค้าในฐานะที่เป็นผู้บริหารต้องการมั่นใจว่ามีเครื่องให้น้ำเกลือเพียงพอต่อการให้บริการ จึงต้องจ่ายเงินตามปริมาณเครื่องให้น้ำเกลือที่เช่ามา ถ้าเช่ามา100เครื่องนั้นหมายความว่า จะต้องจ่ายงานให้กับปริมาณของเครื่องให้น้ำเกลือ100เครื่องนี้ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ทุกเครื่องก็ตาม บางเครื่องอาจจะมีอัตราการใช้งานที่ต่ำ บางเครื่องอาจจะซ่อมบำรุงอยู่ นี้ยังไม่รวมถึงค่าบริการที่ลูกค้าต้องจ่ายอีกด้วย จากนั้นเรามาดูกันในส่วนของรายได้ของลูกค้า ลูกค้าจะได้รับรายได้ก็ต่อเมื่อเครื่องให้น้ำเกลือนั้นได้รับการใช้งานจากผู้ป่วยจริงๆ คำถามคือ เหตุใดลูกค้าถึงจะต้องจ่ายในส่วนของอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการใช้งาน? นี้คือความขัดแย้งที่เรากำลังพูดถึง
🤝 หากเราเชื่อมโมเดลธุรกิจสองแบบนี้เข้าด้วยกันจะเป็นอย่างไร?
แต่อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งหรือไอโอที (IoT) ที่ช่วยสร้างสังคมที่มีความแม่นยำและเพิ่มประโยชน์ให้สูงที่สุดนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่เรากำลังสร้างขึ้นนั้นเปรียบดั่งเชื้อเพลิงต่อธุรกิจที่เน้นผลลัพธ์ที่ซึ่งผู้ให้บริการสามารถเชื่อมโมเดลธุรกิจของพวกเขาให้เข้ากับโมเดลธุรกิจของลูกค้า นี้เป็นสิ่งที่จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อวงการธุรกิจ ลองพิจารณาถึงตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว หากผู้ให้บริการสามารถจำกัดแนวคิดของการเช่าไปอย่างถาวรจะเป็นอย่างไร? หากผู้ให้บริการเริ่มปรับเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้บริการอย่างจริงจังที่มอบคุณค่าและผลลัพธ์ที่ไม่สามารถประเมิณค่าได้กับลูกค้าจะเป็นอย่างไร
นี้คือสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป พวกเขาเพียงแค่จัดหาเครื่องให้น้ำเกลือจำนวนนึงกับโรงพยาบาลรวมไปถึงการมอบซอฟแวร์ที่ช่วยเพิ่มการบริหารจัดการและการให้บริการหลังการขายที่ปราศจากค่าธรรมเนียม ด้วยวิธีการดังที่กล่าวไปนี้ พวกเขาจะสามารถทำเงินได้ด้วยวิธีการเดียวกันกับที่โรงพยาบาลทำรายได้ จากการให้บริการเครื่องให้น้ำเกลือกับผู้ป่วยจริงๆ พวกเขาจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายกับลูกค้าโรงพยาบาลเท่ากับการที่โรงพยาบาลเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์กับผู้ป่วย นี้คือความเชื่อมกันของธุรกิจที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เพราะว่าไอโอที (IoT) ความแม่นยำ และการสร้างประโยชน์ให้สูงที่สุดจะให้ข้อมูลมากมายของคำถามที่ว่า อะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร ต่ออุปกรณ์ที่ได้รับการใช้งาน พวกเขาในที่นี้คือผู้ให้บริการจะสามารถพูดกับลูกค้าได้ว่า “ทุกชั่วโมงที่อุปกรณ์ได้รับการใช้งาน เราจะขอส่วนแบ่ง 1 ดอลล่าจากรายรับของคุณ”
โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายบนพื้นฐานมาจากผลลัพธ์ที่ผู้บริหารมองหา ยิ่งเครื่องให้น้ำเกลือได้รับการใช้งานมากขึ้นเท่าไร โรงพยาบาลก็ยิ่งมีรายได้มากขึ้นเท่านั้น ผู้ให้บริการเองก็เช่นกัน
ธุรกิจที่เน้นผลลัพท์นั้นใหญ่มากๆและก็จะส่งผลกระทบไปสู่อุตสหากรรมอื่นอีกหลายแห่งที่เราจะสามารถนึกถึงได้ และตอนนี้เราก็จะก้าวไปสู่ดินแดนแห่งความหวังที่แพลตฟอร์มของเราได้สร้างสรรมาเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (ไอโอที) หรือ Internet of Things (IoT)
หากชื่นชอบบทความที่น่าสนใจแบบนี้ ติดตามเราเพื่อรับข้อมูลที่มีประโยชน์ได้! 😁 Let’s bring digital transformation to your hospital! 😎