Bluetooth, WiFi, 3G/4G/5G: โลกแห่งเทคโนโลยีไร้สาย🌐

Bluetooth, WiFi, 3G/4G/5G: โลกแห่งเทคโนโลยีไร้สาย – ภาพประกอบโดย สินีนาฏย์ เพิ่มทองคำ

ผมกำลังนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงานกำลังเขียนบทความนี้ ข้างๆตัวผมเป็นโน๊ตบุ๊คที่กำลังเชื่อมต่อกับไวไฟ ผมยังคงมีโทรศัพท์อยู่อีกข้างหนึ่ง นาฬิกาอัจฉริยะหรือที่ทุกคนเรียกกันว่าสมาร์ทวอช (smartwatch) อยู่ที่ข้อมือซ้าย หูฟังแบบไร้สายอยู่ที่หูของผม 

งานเขียนเนี่ยเรียกได้ว่าเป็นกิจวัตรที่ผมชอบและอุปกรณ์เหล่านี้ก็ช่วยให้ทำงานได้อย่างไหลลื่น ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดก็ใช้เทคโนโลยีที่ต่างกันไปเพื่อวัตถุประสงค์คนละอย่าง

  • บลูทูธ (Bluetooth) – เพื่อเชื่อมต่อกับสมาร์ทวอชและหูฟังไร้สายกับโทรศัพท์
  • ไวไฟ (WiFi) – เพื่อเชื่อมต่อโทรศัพท์และโน๊ตบุ๊คไปสู่โลกด้านนอกที่เราเรียกกันว่า ‘อินเทอร์เน็ต’
  • 3G/4G/5G – เพื่อเชื่อมต่อโทรศัพท์ไปสู่การให้บริการมากมายผ่านทางอินเทอร์เน็ต

ทำไมบลูทูธ ไวไฟ และบางครั้งก็3G/4G/5G ทำไมเราไม่สามารถเลือกใช้สักอันได้ อาจจะมีคนอีกมากที่ยังสงสัย เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ ผมจะนำเรื่องราวในชีวิตจริงมาเล่าให้ฟังครับ

ใครไปได้ไกลที่สุด? 🌠

ผมรู้สึกหิวน้ำเมื่อตอนที่กำลังพิมพ์เรื่องนี้อยู่ ผมเลยลุกขึ้นไปหยิบน้ำในขณะที่กำลังใส่หูฟังอยู่ ช่วงสิบก้าวแรกก็ยังได้ยินเสียงเพลงจากหูฟังที่เชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถืออยู่ ในอีก 20 ก้าวและ 30 ก้าวถัดไปทุกอย่างก็ยังดีอยู่ แต่ว่าเมื่อตอนที่ 50 ก้าว เพลงก็เริ่มจะขาดๆหายๆ นั้นเป็นเพราะว่าเทคโนโลยีบลูทูธนั้นสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลแค่นั้น และเมื่อตอนที่เดินกลับมายังโต๊ะ (อันที่จริงแล้วคือโทรศัพท์) ใกล้พอที่จะเข้าถึงแหล่งสัญญาณ ผมก็ได้ยินเสียงเพลงอีกครั้ง

ไม่ทันใดช่วงเวลาอาหารกลางวันก็มาถึง ผมถอดหูฟังออกวางไว้บนโต๊ะ หยิบโทรศัพท์ติดออกมา และก็ออกไปทานอาหารข้างนอก ผมสังเกตเห็นว่าเมื่อตอนที่เดินออกมา โทรศัพท์ของผมยังคงจับสัญญาณไวไฟได้ เมื่อตอนที่เดินมาถึงโรงรถมันก็ยังโอเคอยู่ แต่เมื่อตอนที่เดินมาทางด้านหน้าของตึก สัญญาณไวไฟก็หายไป กลับเป็นสัญญาณ 3G/4G (หรือ 5G) ก็เข้ามาแทนที่ และเพราะว่าไวไฟสามารถไปได้ไกลแค่นั้น 3G, 4G, และ 5G นั้นครอบคลุมได้อย่างกว้างขวางมากที่เราอาจพูดได้ว่า มันครอบคลุมทั้งโลกของเรา

ความแตกต่างอย่างแรกก็คือเทคโนโลยีนี้คือ ระยะครอบคลุมของสัญญาณ บลูทูธนั้นมีระยะสัญญาณที่สั้นกว่าไวไฟและระยะสัญญาณของไวไฟก็สั้นกว่า3G, 4G, และ 5G (หรือเราอาจจะเรียกว่า คลื่นสัญญาณโทรศัพท์เซลลูล่าร์)

เพราะว่าสมาร์ทวอร์ชและหูฟังไร้สายเป็นอุปกรณ์ที่ควรจะอยู่ใกล้โทรศัพท์ นั้นเป็นเหตุที่ว่าบลูทูธนั้นถูกใช้แทนไวไฟ

แต่คำถามคือ เมื่อไวไฟส่งและรับข้อมูลไปในระยะทางที่ไกลกว่า แล้วทำไมเราถึงไม่ใช้แค่ไวไฟล่ะ? ทำไมเราถึงต้องจำกัดระยะทางและใช้บลูทูธแทน?

ใครใช้พลังงานมากกว่า? 📳

เมื่อตอนที่ผมอยู่บ้าน ผมมักจะใช้ลำโพงแบบไร้สายเพื่อที่จะฟังเพลง (ก็แหม เราไม่ต้องสนใจใครนี่นา) ตอนนี้ลำโพงของผมกำลังเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านบลูทูธ ผมกำลังทำงานเป็นเวลาสามชั่วโมงในขณะที่เพลงกำลังเล่นอยู่

เป็นที่สังเกตได้ว่าอุปกรณ์ทั้งหมดต้องการแหล่งพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นจากการชาร์ตหรือการใช้แบตเตอรี่ และในกรณีนี้ ลำโพงของผมทำงานเป็นระยะเวลานานเพราะว่ามันใช้แบตเตอรี่ และนั้นก็เป็นเพราะบลูทูธใช้พลังงานน้อยกว่าไวไฟ ในทุกวันนี้เทคโนโลยีพลังงานต่ำหรือที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อของ ‘บลูทูธพลังงานต่ำ’ (Bluetooth Low Energy – BLE) ซึ่งใช้พลังงานน้อย มันน้อยถึงขนาดที่ว่าอุปกรณ์หนึ่งชิ้นสามารถอยู่ได้ยาวนานเป็นเวลาหลายปีเพียงแค่ใช้ถ่านกระดุม

แล้วไวไฟล่ะ? ลำดับแรกคือ ทุกอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายหรือไวไฟเร้าเตอร์ (WiFi router) ที่บ้านนั้นไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ เพราะมันต้องเสียบปลั๊กไว้ใช่ไหมล่ะ? นั้นเป็นเพราะไวไฟใช้พลังงานจำนวนมาก

ลำดับที่สอง โทรศัพท์มือถือและโน๊ตบุ๊คนั้นมีทั้งไวไฟและจะใช้แบตเตอรี่ด้วยได้ไหม? หลายคนอาจจะสงสัย คำตอบคือได้ เพราะแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ทั้งสองตัวนี้นั้นมีขนาดเล็กแต่มีความจุมาก นอกจากนี้ยังรองรับการใช้ไวไฟได้ด้วย คุณเคยสังเกตไหมว่าเมื่อตอนที่เราใช้โหมดเครื่องบิน (Airplane Mode หรือ Flight Mode) และเมื่อตอนที่ไวไฟถูกปิดและเราเดินทางเป็นระยะเวลาสิบชั่วโมง แล้วเมื่อตอนที่เราเปิดมันอีกครั้ง แบตเตอรี่ก็ไม่ได้ลดลงเลย นั้นเป็นเพราะไวไฟไม่ได้ถูกใช้งาน

โอเค เรามาไกลถึงตรงนี้แล้ว ทั้งบลูทูธและไวไฟนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แล้วเราจะใช้อะไรล่ะ?

ใครส่งและรับข้อมูลได้มากกว่ากัน? 💪

มันถึงเวลาที่ต้องกลับบ้าน ผมเดินออกจากออฟฟิศและตรงไปที่สถานีรถไฟ ในขณะที่กำลังเดินไป ผมก้มดูสมาร์ทวอชเพื่อดูว่าเดินไปกี่ก้าวแล้ว สิ่งที่ผมเห็นคือ จำนวนตัวเลขก้าวเดิน ระยะทาง จำนวนขั้นบันได อัตราการเต้นของหัวใจ และจำนวนแคลอรี่ที่เผาผลาญไป นี้เป็นเพียงตัวเลขเล็กๆที่ถูกส่งไปยังสมาร์ทวอชผ่านทางบลูทูธ ไม่มีรูปถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหว นั้นเป็นเพราะบลูทูธมีข้อจำกัดในการส่งและรับข้อมูล

เมื่อตอนที่มาถึงสถานีรถไฟ ผมหยิบโทรศัพท์ออกมาเพื่อที่จะดูยูทูป ในช่วงห้านาทีแรกภาพและเสียงก็ยังไหลลื่นอยู่ โทรศัพท์ของผมที่กำลังเชื่อมต่อไปยังโลกภายนอกผ่าน 3G กำลังทำงานอย่างหนัก แต่เมื่อถึงฉากที่น่าตื่นเต้นที่สุดกลับดีเลย์ซะงั้น! (ทำลายบรรยากาศในการดูหมดเลยทั้งคุณภาพของวีดิโอและเสียง) ผมเหลือบมองไปทางด้านบนของโทรศัพท์ สัญญาณ 3G ปรากฎอยู่แทนที่สัญญาณ 4G ซึ่ง 3G นั้นส่งและรับข้อมูลได้น้อยกว่า 4G ตัวสัญญาณ 3G นั้นพยายามอย่างเต็มที่ที่จะดาวน์โหลดวีดิโอแต่ะมันทำไม่ได้ ดังนั้นผมเลยตัดสินใจปิดโทรศัพท์ เมื่อตอนที่กลับมาถึงบ้าน โทรศัพท์ของผมก็จับสัญญาณไวไฟได้ ดังนั้นผมก็เลยเปิดยูทูปอีกครั้ง และแน่นอนว่า คุณภาพของวีดีโอนั้นสูงมาก เสียงชัดและลื่นไหลซึ่งทำให้ประสบการณ์ในการดูนั้นเยี่ยมยอดมาก!

ตามทฤษฎีแล้ว ไวไฟสามารถส่งและรับสัญญาณได้ดีกว่า ‘ข้อมูลเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ’ (Mobile Network Data) ยิ่งไปกว่านั้น ไฟเบอร์ออฟติกในทุกวันนี้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพไวไฟซึ่งไม่มีปัญหาอะไรกับไวไฟเลย แต่ทายสิว่า ตั้งแต่ 5G เกิดขึ้น ตอนนี้ 5G มีความเร็วในการโหลดที่มากกว่าไวไฟในบางประเทศ (ถึงแม้ว่าไวไฟจะกระจายสัญญาณได้มากกว่า)

โดยสรุป หากตัดสินกันที่การวัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ตหรือแบนด์วิธ (bandwidth) บลูทูธมีความจุน้อยกว่าหากเทียบกับ 3G และ 3G มีความจุน้อยกว่าไวไฟ

ปัยจัยสุดท้ายที่เราต้องพิจารณาคือ…

ใครมีราคาแพงกว่ากัน? 💸

อันนี้ค่อนข้างชัดเจน บลูทูธนั้นฟรีซึ่งหมายความว่า ผมสามารถใช้สมาร์ทวอช หูฟัง และลำโพงไร้สายโดยที่ไม่ต้องเสียเงินสักบาทเพื่อใช้บริการ อุปกรณ์ทุกชิ้นเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ได้โดยตรงเพื่อส่งและรับข้อมูล ไม่ต้องเสียเงินให้กับผู้ให้บริการเลย ทุกอย่างฟรี!

แต่เมื่อเราพูดถึงข้อมูลเครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้นไม่ฟรีแน่นอน ตั้งแต่ยุค 2G สมัยก่อน ซึ่งทำได้แค่ส่งและรับข้อมูลที่เป็นเสียงและข้อความ เรายังคงต้องจ่ายสำหรับค่าบริการรายเดือน จนเมื่อเสียงและข้อความนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมแล้วเหมือนแต่ก่อน ผู้คนหันมาสนใจกับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นที่เราเรียกว่า ‘ข้อมูลมือถือ’ (mobile data) ดังนั้นตอนนี้ มันเลยการเป็นเทรนด์สำหรับทุกคนที่จะได้รับการบริการรายเดือนเนื่องจากความสามารถดังกล่างที่เราต้องการใช้ซึ่งก็มีหลากหลายราคาให้เราเลือก


ทุกวันนี้รวมถึงตัวผมต่างก็ถูกรายล้อมไปด้วยเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารและอุปกรณ์ที่หลากหลายด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน  บางอย่างสามารถทำงานในระยะใกล้แต่บางอย่างสามารถทำงานได้ในระยะไกลและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวางกว่า บางอันก็สามารถส่งและส่งข้อมูลมากกว่าและบางอันก็ใช้พลังงานต่ำ

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ ความท้าทายก็มีเช่นกัน มันเป็นไปได้ไหมว่าถ้าเราแทนที่ข้อเสียของเทคโนโลยีนึงด้วยประโยชน์ของอีกเทคโนโลยีนึงเพื่อขยายความสามารถของเทคโนโลยีเช่น สมาร์ทซิตี้ (Smart City) หรือ สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) คำตอบคือมันเป็นไปได้และมันก็เกิดขึ้นแล้ว


Mutrack Dispatcher – Reimagine Patient Transportation Services in Hospitals

หากว่าคุณชื่นชอบบทความลักษณะนี้ อย่าลืมมาติดตามอ่านบทความอื่นๆได้ที่นี้ เราจะทำให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับเรื่องราวดีๆ! 😀 #mutrack

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *